รู้จักกับ Persona คืออะไรทำไมถึงต้องทำก่อนออกแบบ

persona1

รู้จักกับ Persona คืออะไรทำไมถึงต้องทำก่อนออกแบบ

ในสมัยก่อนการออกแบบอะไรก็ตามเราออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานของเราใช้งานโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับ User Experience เท่าไหร เน้นแค่ความสวยงามแต่ในสมัยนี้ถ้าแข่งกันแค่ความสวยงามแต่การใช้งานยากเย็นแสนเข็นคงไม่มีใครอยากใช้ จึงมีอาชีพ Uxแบะ Ui เกิดขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานมี User Experience ที่ดีที่สุด

screenshot

ลองนึกภาพโทรศัพท์ในปัจจุบันหน้าตาคล้ายๆกันไปหมดแม้กระทั้งหน้าตา Ui ของระบบปฏิบัติการ คล้ายกันจนแยกแทบไม่ออกว่ารุ่นไหนเป็นรุ่นไหน ทำให้การตัดสินใจจะซื้อสักเครื่องนึงจึงเปลี่ยนไปที่การใช้งาน(Ux) ความยากง่าย ฟังก์ชั่นต่างๆและสเปคต่างๆ ตอบโจทย์การใช้งานกลุ่มเป้าหมายมั้ย

จึงมีอาชีพ Uxแบะ Ui เกิดขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานมี User Experience ที่ดีที่สุด

Persona คือ?

การทำความรู้จักผู้ใช้งานจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือจะเป็นกลุ่มคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราก็ได้ ว่าเป็นใคร เพศอะไร ทำงานอะไร สนใจเรื่องอะไร มีปัญหาเรื่องไหนอยู่ ลักษณะนิสัยหรือการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร และอื่นๆอีกมากมาย ทีนี้พอเรารู้ว่าใครคือผู้ใช้งานของเราแล้ว เราก็สามารถออกแบบ Ux และ Ui ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเรามากยิ่งขึ้น

เช่น

Persona ของคนที่ซื้อ Iphone อาจจะเป็นคนไม่ชอบความยุ่งยาก ใช้งานง่าย มีผลิตภัณท์ของ Apple หลายชิ้นก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ และค่อนข้างมีรายได้ระดับนึง เป็นคนที่ทำงานแล้ว

Persona ของคนที่ซื้อ Andriod อาจจะเป็นคนที่ชอบเทคโนโลยีทันสมัย ชอบฟีเจอร์เยอะๆ ทำนั้นทำนี่ได้ มีปากกาจด มีเทคโนโลยีใหม่ออกทุกปี อุปกรณ์ใช้ได้กับทุกแบรนด์ เช่น สายชารต์ ส่วนราคาก็ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้งานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาชีพไหนก็เข้าถึงได้

จะเห็นได้ว่าจาก Persona ตัวอย่างข้างบนทำให้เรามองเห็นถึงทิศทางที่เราจะออกแบบ Ux และ Ui ว่าเราทำมาเพื่อใครและทำไมเขาถึงต้องใช้ผลิตภัณท์ของเรา

แต่จริงๆแล้ว Persona แบ่งออกได้เป็น2แบบ คือ User Persona และ Buyer persona 

– User persona คือ Persona ของผู้ใช้งานที่ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา จะเป็น Persona ที่เกี่ยวของกับฝั่ง Design โดยตรง

– Buyer Persona คือ Persona ของผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการของเรา ฝั่งนี้จะเกี่ยวข้องกับฝ่าย Marketing ที่ต้องรู้จักผู้ซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อทำการตลาดกับคนกลุ่มนี้

ทำไมถึงต้องแยก User และ Buyer ต่างกันอย่างไร 
เคยได้ยินคำว่า คนใช้ไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ใช้ มั้ยครับ 
บางผลิตภัณฑ์หรือบริการผู้ใช้และผู้ซื้อเป็นคนละคนกัน 
อย่างเช่น 
เว็บไซต์ Dek-D ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน แต่เงินที่ทำให้เว็บอยู่ได้มาจากผู้ที่ซื้อแบรนเนอร์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือ ของเล่นเด็กที่ผู้ใช้คือเด็ก แต่ผู้ซื้อคือพ่อแม่ที่เป็นผู้ใหญ่

จะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นคนละกลุ่มกันอย่างสิ้นเชิงแต่ในบางผลิตภัณฑ์ Persona นี้ก็ใกล้เคียงกันจนแทบจะเป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น โทรศัพท์ อาจจะเป็นพี่ซื้อให้น้อง แฟนซื้อให้กัน 
เป็น Persona ที่อายุไล่เลี่ยไม่ต่างกันมาก ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้งานซึ่งถ้าสามารถแยกออกจากกันได้ก็ควรแยกครับ

ที่นี้การทำ Persona ควรมีอะไรบ้าง
การทำ Persona ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวและความละเอียดไม่เท่ากันจะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา และจุดประสงค์ของการทำ Persona ขึ้นมา แต่หลักๆแล้วสิ่งที่ต้องมีคือ

1.Demographic
ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานทั่วไปอย่าง ชื่อ-นามสกุล, อายุ, เพศ, ที่อยู่, การศึกษา, อาชีพ, รายได้, สถาณภาพสมรส และอื่นๆ

2.Psychographic
ข้อมูลเชิงจิตวิทยาที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา 

เช่น 
– ความต้องการและความกังวลของผู้ใช้งาน(เช่นความปลอดภัย ความเร็วในการใช้งาน)
– มุมมองทัศนคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์
– Pain Point (ปัญหาที่ผู้ใช้งานเจอหรือกำลังมีปัญหา เช่น แอปเรียกแท๊กซี่ผู้ใช้งานต้องการความปลอดภัยและพนักงานขับรถที่ดี จึงเกิดเป็นฟังก์ชั่นการให้คะแนนพนักงานขับรถ)
– Lifestyle (รูปแบบการดำเนินชีวิต)และอื่นๆแล้วแต่จุดประสงค์และผลิตภัณฑ์หรือบริการ

อ่านบทความต่อไปกับ 5 พื้นฐานการเริ่มทำ Persona

อย่าลืมเข้าไปกดติดตามได้ที่ Facebook.com/uxuithailand

บทความที่เกี่ยวข้อง