5 พื้นฐานการเริ่มทำ Persona.
1.เริ่มจากถามคำถามตัวเองพื้นฐานง่ายๆ
2.รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
3.หาข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม
4.นำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำข้อสรุป
5.หากลุ่ม Persona ที่เป็นเป้าหมายของเราจริงๆ
แล้วแต่จุดประสงค์และข้อมูลที่มีอยู่ หากต้องการ Persona ที่ละเอียดกว่านี้อาจต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติม
1.เริ่มจากถามคำถามตัวเองพื้นฐานง่ายๆว่า
– ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามีเพื่อใคร
– ทำไมผู้ใช้งานถึงต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
– ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานได้หรือไม่
จากคำถามเหล่านี้อาจทำให้คุณเห็นจุดแข็งและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณว่าต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
โดยอาจนำคำตอบจากคำถามนี้ไปเช็คดูกับผลรับที่เราไปทำ Research กับผู้ใช้งานจริงว่าตรงกันกับที่เราคิดและเรามาถูกทางแล้วหรือไม่
2.รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
หากผลิตภัณฑ์ของใครที่มีการเก็บสถิติข้อมูลของผู้ใช้งานในระบบอยู่แล้วถือว่าได้เปรียบมากๆ เพราะสามารถนำข้อมลูที่มีอยู่มาวิเคราะห์ได้เลย
แต่หากยังไม่มีคุณอาจลองทำ Research คร่าวๆกับเพื่อนๆคนรู้จักหรือคนในทีมก่อน โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญ ก็จะทำให้พอเริ่มเห็นภาพคร่าวๆถึง Persona ของผู้ใช้งานของเรา ซึ่งผลที่ได้ออกมาจะไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ต้องไปทำ Research กับผู้ใช้งานจริงๆอีกครั้ง
3.หาข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม
จากข้อ2นั้น ข้อมูลที่ได้มาเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆที่อาจเป็นแค่เพียงข้อมูลตัวเลขหรือสถิติต่างๆ แต่ยังขาดข้อมูลเชิงลึกด้านที่เป็นความคิดเห็นต่างๆของผู้ใช้งาน เราจึงต้องออกไปทำ Research กับผู้ใช้งานจริงๆ
และเราจะนำข้อมูลจากข้อ2 มาคัดกรองหาผู้ใช้งานที่เราจะไปทำ Research เช่น แอปสั่งอาหาร ผู้ใช้งานเราอาจจะเป็น กลุ่มคนอายุ 18-35ปี ทั้งเพศ หญิงและชาย โดยแยกประเภทของผู้ใช้งานเป็นนักศึกษาที่อาศัยตามหอพักกลุ่มนึง และพนักงานออฟฟิศอีกกลุ่มนึง เป็นต้น
ซึ่งคำถามที่จะนำไปทำ Research ก็เป็นข้อมูลเชิงลึกด้าน Psychographic จากภาค#1 ยิ่งเราทำ Research กับผู้ใช้งานเยอะ ข้อมูลที่ได้มาก็จะทำให้เห็นตัวตนของกลุ่มผู้ใช้งานชัดเจนยิ่งขึ้น
4.นำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำข้อสรุป
นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มารวมกันและจัดเรียงความเหมือนกันของข้อมูล เช่น กลุ่มนักศึกษามีปัญหาเรื่องA เหมือนกัน พนักงานออฟฟิศต้องการเรื่องB เหมือนกัน เป็นต้น
ก็จะทำให้เริ่มเห็น Persona ออกมาว่ากลุ่มเป้าหมายของเราที่เป็นนักศึกษา เพศนี้ อายุช่วงนี้ เรียนสาขานี้ พักอยู่ที่นี่ มีปัญหาและความต้องการอย่างไร เช่นเดียวกันกับพนักงานออฟฟิศ
โดยสามารถทำข้อมูลเหล่านี้ให้เป็น infographic หรือรูปภาพเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น
5. หากลุ่ม Persona ที่เป็นเป้าหมายของเราจริงๆ
จากข้อมูล Persona ที่เราได้สรุปมานั้นจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีแค่ Persona เดียว เราจึงต้องทำการจัดเรียงลำดับเพื่อหากลุ่ม Persona ที่เป็นเป้าหมายของเราจริงๆโดยการย้อนไปที่ข้อ1 ว่าเราทำขึ้นมาเพื่อใคร ก็จัดกลุ่มนั้นเป็น Persona หลักที่เราจะยึดเป็นหลักในการตัดสินใจในการออกแบบว่าตรงตอบโจทย์การใช้งานกับคนกลุ่มนี้หรือไม่
ส่วนกลุ่มอื่นๆที่รองลงมาก็ให้ความสำคัญรองลงมา หากคุณมี Persona ที่ชัดเจนแล้วล่ะก็ คุณจะเห็นทิศทางและเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งการทำ Persona นี้ทำครั้งนึงสามารถใช้ไปได้นานพอสมควร หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตจนทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้งานเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มจริงๆครับ
รู้จักกับ Persona คืออะไร
อย่าลืมเข้าไปกดติดตามได้ที่ Facebook.com/uxuithailand